บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020

อะไรคือร่างกายดุจ "คันศรทั้ง 5"?

รูปภาพ
          ในขณะฝึกมวยไทเก็ก  จะต้องวางท่าร่างกายดุจ "คันศรทั้ง 5"  ได้แก่  ลำตัว แขนสองข้าง ขาสองข้าง  ลำตัวมีเอวเป็นคันศร กล้ามเนื้อหลังปรากฏเป็นรูปโค้ง  แต่ไม่ใช่มีเจตนาให้เป็นคันศร  เพียงเรา "หันชวงป๋าเป้ย" และ "เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว" ก็จะบรรลุผลแล้ว  แขนมีข้อศอกเป็นคันศร  ขามีหัวเข่าเป็นคันศร           หรือจะกล่าวอีกอย่างได้ว่า  แขนและขาจะต้องไม่ตรงแข็งทื่อเป็นพู่กัน  แต่จะต้องมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ  จึงจะทำให้ "ชี่" ภายในไม่ติดขัด  นี่เป็นข้อจำแนกที่สำคัญข้อหนึ่งระหว่างมวยภายในและมวยภายนอก

มวยไทเก็กตระกูลหยาง 85 ท่า

รูปภาพ
ชื่อท่า มวยไทเก็กตระกูลหยาง 85 ท่า อี้เป้ยซื่อ ฉี่ซื่อ หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน ถีโส่วซ่างซื่อ ไป๋เฮ่อเลี่ยงซื่อ จั่วโลวชีอ้าวปู้ โส่วฮุยผีผา จั่วโย่วโลวชีอ้าวปู้ โส่วฮุยผีผา จั่วโลวชีอ้าวปู้ จิ้นปู้ปันหลานฉุย หรูเฟิงซื่อปี้ สือจื้อโส่ว (จบเก็กหนึ่ง) เป้าหู่เกวยซัน โจ๋วตี่คั่นฉุย เต้าเหนี่ยนโหว เสียเฟยซื่อ ถีโส่วซ่างซื่อ ไป๋เฮ่อเลี่ยงซื่อ จั่วโลวชีอ้าวปู้ ไหตี่เจิน ซ่านทงเป้ย เผี่ยเซินฉุย จิ้นปู้ปันหลานฉุย ซ่างปู้หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน หวินโส่ว ตันเปียน เกาทั่นหม่า จั่วโย่วเฟินเจียว จ่วนเซินจั่วเติงเจียว โลวชีอ้าวปู้ จิ้นปู้ไจฉุย ฟันเซินเผี่ยเซินฉุย จิ้นปู้ปันหลันฉุย โย่วเติงเจี่ยว จั่วต๋าหู่ซื่อ โย่วต๋าหู่ซื่อ หุยเซินโย่วเติงเจี่ยว ซวงเฟิงกว้านเอ๋อ จั่วเติงเจี่ยว จ่วนเซินโย่วเติงเจี่ยว จิ้นปู้ปันหลานฉุย หรูเฟิงซื่อปี้ สือจื้อโส่ว (จบเก็กสอง) เป้าหู่เกวยซัน เสียตันเปียน เหยียหม่าเฟินจง หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน อวี้หนี่ชวนซัว หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน หวินโส่ว ตันเปียน เซี่ยซื่อ จินจีตู๋ลี่ เต้าเหนี่ยนโหว เสียเฟยซื่อ ถีโ

มวยแข็ง และ มวยอ่อน

รูปภาพ
          หากพูดถึงศิลปะป้องกันตัวของจีน (วูซู)  นอกจากจะแบ่งออกเป็น มวยเหนือ มวยใต้ ตามภูมิภาคที่กำเนิดของมวยนั้นๆแล้ว  ยังแบ่งออกเป็น มวยอ่อนและมวยแข็ง อีกด้วย           หากจะพูดถึงมวยอ่อนและมวยแข็ง  ก็มักจะมีความเกี่ยวข้องกับ 2 สำนัก หนึ่งคือเส้นหลิน สองคือบู๊ตึ๊ง(อู่ตัง)           วิชามวยของบู๊ตึ๊ง  ถูกขนานนามว่าเป็นมวยอ่อนหรือมวยภายใน  ซึ่งจะกล่าวลักษณะของมวยภายในโดยสังเขป  ได้ดังนี้ "กลม"   ท่าทางต้องโค้ง  เป็นวงกลม "ต่อเนื่อง"   การเคลื่อนไหวคาบเกี่ยว  ต่อเนื่อง  ไม่ขาดตอน "ช้า"   ฝึกฝนความชำนาญด้วยความช้าเป็นพื้นฐาน  หายใจเป็นธรรมชาติ "ใน"   ฝึกฝนภายในเป็นหลักใหญ่ ( จิ้ง  ชี่  และเสิน ) "อ่อน"   ใช้ความอ่อนสยบความแข็ง  ยืมพลังก่อพลัง  "สี่ตำลึงปาดพันชั่ง"           วิชามวยของเส้นหลิน  ถูกขนานนามว่ามวยแข็งหรือมวยภายนอก  ซึ่งจะกล่าวลักษณะของมวยภายนอกโดยสังเขป  ได้ดังนี้ "ตรง"   อิริยาบถ การเคลื่อนไหว  เป็นเส้นตรง "ตัด"   แต่ละท่ารุนแรง  ขาดตอน  ไม่ต่อเนื่อง "เร็ว"   ฝึกฝนความชำนา