อ.เจ้าปิน (1906-1999) และอาจารย์เจ้าอิ้วปิน (1950-ปัจจุบัน)
อ.เจ้าปิน เป็นผู้สืบทอด มวยไทเก็กตระกูลหยาง รุ่นที่ 4 และเป็น 1 ในเครือญาติสายตรง ที่มีชื่อเสียง มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่มวยไทเก็กตระกูลหยาง อ.เจ้าปิน เป็นคน ตำบลกว่างฟู่ อำเภอหย่งเหนียน มณฑลเหอเป่ย ท่านตาของ อ.เจ้าปิน เป็นพี่รองของ อ.หยางเฉิงฝู่
ในช่วงทศวรรษที่ 30 ท่านได้พำนักอยู่กับ อ.หยางเฉิงฝู่ ที่สมาคมวูซูหางโจว มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดจาก อ.หยางเฉิงฝู่ โดยตรง อ.จ้าวปิน ท่านจบจาก โรงเรียนนายร้อยหวางฝู่ รุ่นที่ 6 และได้ออกศึกรบกับทหารญี่ปุ่น หลังการปลดปล่อย ท่านได้ยอมสละหน้าที่การงาน ที่ทางรัฐบาลจัดไว้ให้ เพื่ออุทิศตนในการเผยแพร่ศิลปะวูซูและมวยไทเก็กตระกูลหยาง เป็นเวลากว่า 40 ปี ท่านมีลูกศิษย์มากมาย
ในปี ค.ศ.1984 ท่านได้ก่อตั้งสมาคมไทเก็กตระกูลหยางแห่งหย่งเหนียน ที่นครซีอาน เพื่อสอนให้แก่ผู้แสวงหามวยไทเก็ก ทั้งจากในและนอกประเทศจีน เมืองซีอานจึงกลายเป็น เมืองที่สำคัญแห่งหนึ่งในการเผยแพร่มวยไทเก็กตระกูลหยาง
ในวัยชรา เนื่องจาก อ.เจ้าปิน มีความผูกพันลึกซึ้งกับหย่งเหนียน ท่านจึงได้ร่วมงานของ สมาคมไทเก็กแห่งหย่งเหนียน หลายครั้ง และสอนมวยไทเก็กที่บ้านเกิด โดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆ ท่านจึงเป็นที่เคารพของชาวกว่างฟู่เป็นอย่างมาก
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1999 อ.เจ้าปิน ได้ลาจากโลกนี้ไป ในวัย 93 ปี รัฐบาลท้องถิ่น ตำบลกว่างฟู่ อำเภอหย่งเหนียน ได้สร้างอนุสรณ์สถาน "สวนจ้เาปินไท้จี๋" บรรดาลูกศิษย์, ลูกศิษย์ของลูกศิษย์ นักเรียน และบุคคลมีชื่อเสียงของวงการไทเก็กมากมาย ได้ร่วมจารึกคำไว้อาลัย ท่านสุ่ยไฉ อดีตนายกสมาคมวูซูแห่งเอเซีย ได้จารึกคำไว้อาลัยว่า "ชื่อเสียงขจรไกล จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ตลอดกาล"
อ.จ้าวอิ้วปิน และ อ.จ้าวเลี่ยง |
ปัจจุบันลูกชายของท่าน(อ.เจ้าอิ้วปิ่น) และหลานชาย(อ.เจ้าเลี่ยง) ได้สืบทอดและเผยแพร่วิชามวยไทเก็กตระกูลหยางต่อไป
อาจารย์เจ้าอิ้วปิน เริ่มเรียนมวยไทเก็กจากบิดาตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ และยังได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ฟูจงเหวินผู้เป็นท่านอา และยังได้รับการชี้แนะจากท่านตาอาจารย์หยางเจิ้นจีและอาจารย์หยางเจิ้นตั๋ว ร่ำเรียนฝึกฝนมวยไทเก็กอย่างบากบั่นเป็นเวลากว่า 65 ปี (ปัจจุบันเหล่าซือ อายุ 72 ปี) มีฝีมือเยี่ยมยอด เป็นตัวแทนผู้สอนมวยไทเก็กตระกูลหยาง ของเครือญาติสายตรงรุ่นที่ 5 ที่มีชื่อเสียง อาจารย์เจ้าอิ้วปินเริ่มติดตามบิดาตั้งแต่อายุ 16 ปี ในการสอนมวยไทเก็กตระกูลหยาง ในเมืองซีอานอยู่นานปี ท่านได้รับเชิญไปสอนหลายต่อหลายที่ ไม่ว่าจะเป็น เซินเจิ้น ฮ่องกง ประเทศไทย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย มอนเตเนโกร สหรัฐอเมริกา เพื่อเผยแพร่มวยไทเก็ก
ในปี ค.ศ.1999 (พ.ศ.2542) ด้วยการสนับสนุนของอาจารย์เจ้าอิ้วปิน ชมรมหย่งเหนียนไท้จี๋ฉวนตระกูลหยางแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งขึ้น ในวันก่อตั้งชมรมฯ ท่านฉินหยู่เซิ่ง ฑูตวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ไปร่วมงานและแสดงความยินดี และขอให้อาจารย์เจ้าอิ้วปินทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรม และมิตรภาพไทย-จีน 2 ประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากสอนในทางปฏิบัติแล้ว ท่านยังมีบทประพันธ์เกี่ยวกับวิชาความรู้ ศิลปะการต่อสู้ และการใช้อาวุธต่างๆ ของมวยไทเก็กตระกูลหยางอย่างสม่ำเสมอในนิตยสารไท้จี๋อู่ตังของประเทศจีน
ในปี ค.ศ.1997 (พ.ศ.2540) ท่านได้เรียบเรียงมวยชุดหยางเจียไท้จี๋ฉวนกงฟ่า และมวยไทเก็กตระกูลหยางฉบับดั้งเดิม (โดยย่อ) 37 ท่า ลูกศิษย์ท่านใช้มวยชุดย่อนี้ในการแข่งขัน ได้รับเหรียญทองทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติหลายครั้ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น