บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2020

อ.เจ้าปิน (1906-1999) และอาจารย์เจ้าอิ้วปิน (1950-ปัจจุบัน)

รูปภาพ
อ.เจ้าปิ่น (1906-1999) และอาจารย์เจ้าอิ้วปิน (1950-ปัจจุบัน) อ.เจ้าปิน เป็นผู้สืบทอด มวยไทเก็กตระกูลหยาง รุ่นที่ 4 และเป็น 1 ในเครือญาติสายตรง ที่มีชื่อเสียง มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่มวยไทเก็กตระกูลหยาง อ.เจ้าปิน เป็นคน ตำบลกว่างฟู่ อำเภอหย่งเหนียน มณฑลเหอเป่ย ท่านตาของ อ.เจ้าปิน เป็นพี่รองของ อ.หยางเฉิงฝู่ ในช่วงทศวรรษที่ 30 ท่านได้พำนักอยู่กับ อ.หยางเฉิงฝู่ ที่สมาคมวูซูหางโจว มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดจาก อ.หยางเฉิงฝู่ โดยตรง อ.จ้าวปิน ท่านจบจาก โรงเรียนนายร้อยหวางฝู่ รุ่นที่ 6 และได้ออกศึกรบกับทหารญี่ปุ่น หลังการปลดปล่อย ท่านได้ยอมสละหน้าที่การงาน ที่ทางรัฐบาลจัดไว้ให้ เพื่ออุทิศตนในการเผยแพร่ศิลปะวูซูและมวยไทเก็กตระกูลหยาง เป็นเวลากว่า 40 ปี ท่านมีลูกศิษย์มากมาย ในปี ค.ศ.1984 ท่านได้ก่อตั้งสมาคมไทเก็กตระกูลหยางแห่งหย่งเหนียน ที่นครซีอาน เพื่อสอนให้แก่ผู้แสวงหามวยไทเก็ก ทั้งจากในและนอกประเทศจีน เมืองซีอานจึงกลายเป็น เมืองที่สำคัญแห่งหนึ่งในการเผยแพร่มวยไทเก็กตระกูลหยาง ในวัยชรา เนื่องจาก อ.เจ้าปิน มีความผูกพันลึกซึ้งกับหย่งเหนียน ท่านจึงได้ร่วมงานของ สมาคมไทเ

จากใจของประธานชมรม (2563-2564)

รูปภาพ
#   ชมรมไท้เก็กนครสวรรค์จัดการแสดงชุดใหญ่ที่ต้องใช้ผู้แสดงรวมทั้งหมดประมาณ 70 คน เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในงานเทศกาลตรุษจีนเมืองปากน้ำโพและถวายปุนเถ่ากงม่า # แรกๆ ผมต้องคิดเยอะว่าเราจะคัดเฉพาะคนเก่งๆที่รําได้ดีไปโชว์เท่านั้นเพื่อชื่อเสียงของชมรม แต่ความคิดนี้ผมเห็นมานานแล้วและก็ทํากันแทบทุกชมรมในประเทศไทยแล้วก็เริ่มเห็นรอยแปลกแยกชัดเจนขึ้นระหว่างคนที่มีโอกาสแสดง , แข่งขัน , กับคนที่ไม่มีโอกาสหรือพื้นที่ให้เขาแสดงออก เรื่องนี้ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความเป็นจริงที่ว่าคนเราย่อมมีความสามารถในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกันไป เก่งค้าขาย เก่งร้องรําทําเพลง เก่งทําอาหาร เก่งสร้างความสัมพันธ์เฮฮาปาตี้ เก่งรํามวย และอื่นๆ อีกสารพัด แน่นอนไม่มีใครเก่งไปทุกอย่างแต่ละคนย่อมมีดีมีเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนั้นทําอย่างไรให้ทุกคนมาแสดงรํามวยร่วมกันได้แน่นอนย่อมมีคนรําดีและไม่ดี ทั้งจากการแข่งขันที่ผ่านมาและซ้อมโชว์เราได้ค้นพบว่าหากเราเลือกเฉพาะคนเก่งมวยไปแสดงคนส่วนใหญ่ก็ขาดการมีส่วนร่วมที่สุดตัดสินใจที่จะเลือกเอาคนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมผลออกมาเป็นอย่างไรก็ช่างเถิด ขอให้ทุกคนมีความสุขที่ทําร่วมกัน

ประวัติชมรมไทเก็กนครสวรรค์

รูปภาพ
ประวัติชมรมไทเก็กนครสวรรค์ .... เมื่อปี พ.ศ.2520 มีชาวปากน้ำโพ 10 ท่าน เห็นประโยชน์ของการรำมวยไทเก็ก จึงได้เชิญ "อาจารย์ ตั้ง ท่วง ง้วน" และ "อาจารย์ ลิ้ม ไซ่ หง" ซึ่งเป็นผู้สืบทอดวิชามาจาก "อาจารย์ ต่ง อิง เจี๋ย" มาเป็นผู้ฝึกสอน มวยไทเก็กตระกูลหยาง เป็นเวลา 2 ปี .... .... จนถึงปี พ.ศ.2522 จึงได้ก่อตั้งชมรม โดยใช้ชื่อว่า "ทีมกายบริหารไท้เก็กมูลนิธิปากน้ำโพประชานุเคราะห์" .... .... จนประมาณปี พ.ศ.2543 ในขณะที่ "คุณชวลิต ศรีประทักษ์" (เป็นสมาชิก 1 ใน 10 คนผู้ริเริ่มก่อตั้งชมรมฯ) เป็นประธานชมรมฯ "คุณมานิต อุดมคุณธรรม" ประธานชมรมหย่งเหนียนไท้จี๋ฉวนตระกูลหยาง ประเทศไทย ในขณะนั้น ได้ติดต่อมายัง "คุณสันติ คุณาวงศ์"  เพื่อแนะนำอาจารย์ผู้สอนมวยไทเก็กตระกูลหยางให้กับชมรมไทเก็กนครสวรรค์ .... .... คุณมานิตได้แนะนำ "อาจารย์ เจ้า อิ้ว ปิ่น" ผู้สืบทอดมวยไทเก็กตระกูลหยาง รุ่นที่ 5 มาสาธิตการรำมวยไท้เก็ก 85 ท่า ณ ห้องต้นเจ้าพระยา ห้างสรรพสินค้าแฟร์รี่แลนด์ .... .... ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 "อาจารย์