บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2020

ย่งอี้ปู้ย่งลี่ (ใช้จิตไม่ใช้แรง) กับการจับปลา

รูปภาพ
 ในครั้งที่กลุ่มสมาชิกของเราและออสเตรเลียไปเรียนคอร์สระยะสั้นที่ซีอาน บทสนทนาหนึ่งบนโต๊ะอาหารที่เหล่าซือจัดเพื่อต้อนรับคณะของเรา คือ  เราได้ถามเหล่าซือว่า "อะไรคือการใช้จิตไม่ใช้แรง?" คำตอบของเหล่าซือ เริ่มต้นด้วยคำถามว่า "พวกเราเคยจับปลาในแม่น้ำ(ด้วยมือเปล่า)มั้ย?" เหล่าซือไม่รอคำตอบก็เล่าต่อว่า "การใช้จิตไม่ใช้แรง ก็เหมือนการจับปลาในแม่น้ำ" พอเราไปยืนในแม่น้ำ หรือลำธาร  สิ่งที่เราจะต้องทำในการจับปลา คือ 1. ต้องสงบจิตใจ มีสมาธิที่สงบนิ่ง ปราศจากความคิดฟุ้งซ่าน คิดเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องจับปลา 2. รอคอยอย่างใจเย็นและอดทน เมื่อโอกาสมาถึง เราก็จะสามารถจับปลาได้ 3. เมื่อจับได้แล้ว จะต้องไม่ใช้แรง ความหมายของคำว่า "ไม่ใช้แรง" นี้ หมายถึง หากใช้แรงมากเกินไป ปลาก็จะลื่นหลุดมือไปได้ แต่หากไม่ใช้แรงเลย ปลาก็จะดิ้นหลุดมือไปได้อีกเช่นกัน ดังนั้นหัวใจของการจะจับปลาขึ้นมา คือ การควบคุมแรงให้พอดี นี่ก็คือความหมายของ "ใช้จิตไม่ใช้แรง" หรือ "ย่งอี้ปู้ย่งลี่" ผมเคยเล่าให้สมาชิกบางท่านฟังแล้ว ก็คิดว่าหลายๆ ท่านอาจยังไม่เคยฟังเรื่องนี้มาก่อน

มวยไทเก็กตระกูลหยาง 28 ท่า

รูปภาพ
1. อี้เป้ยซื่อ 2. ฉี่ซื่อ 3. หล่านเชี่ยเหว่ย 4. ตันเปียน 5. ถีโส่วซ่างซื่อ 6. ไป๋เห้อเลี่ยงซื่อ 7. จั่วโย่วโลวซีอ้าวปู้ 8. โส่วฮุยผีผา 9. เป้าหู่เกวยซัน 10. โจ๋วตี่คั่นฉุย 11. โย่วจั่วโข่วเต้าเหนี่ยนโหว 12. โย่วเฟินจั่วเติงเจี่ยว 13.จ่วนเซินจั่วต๋าหู่ 14. หุยเซินซวงเฟิงกว้านเอ๋อ 15. จิ้นปู้ไจฉุย 16. ฟันเซินไป๋เสอถูซิ่น 17. ตันไป่เหลียน 18. จั่วอวี้หนี่ชวนซัว 19. โย่วเหยียหม่าเฟินจง 20. หวินโส่วตันเปียน 21. เซี่ยซื่อ 22. ซ่างปู้ชีซิง 23. ทุ่ยปู้คว่าหู่ 24. จ่วนเซินไป่เหลียน 25. วานกงเซ่อหู่ 26. จิ้นปู้ปันหลานฉุย 27. สือจื้อโส่ว 28. โซวซื่อ

อะไรคือร่างกายดุจ "คันศรทั้ง 5"?

รูปภาพ
          ในขณะฝึกมวยไทเก็ก  จะต้องวางท่าร่างกายดุจ "คันศรทั้ง 5"  ได้แก่  ลำตัว แขนสองข้าง ขาสองข้าง  ลำตัวมีเอวเป็นคันศร กล้ามเนื้อหลังปรากฏเป็นรูปโค้ง  แต่ไม่ใช่มีเจตนาให้เป็นคันศร  เพียงเรา "หันชวงป๋าเป้ย" และ "เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว" ก็จะบรรลุผลแล้ว  แขนมีข้อศอกเป็นคันศร  ขามีหัวเข่าเป็นคันศร           หรือจะกล่าวอีกอย่างได้ว่า  แขนและขาจะต้องไม่ตรงแข็งทื่อเป็นพู่กัน  แต่จะต้องมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ  จึงจะทำให้ "ชี่" ภายในไม่ติดขัด  นี่เป็นข้อจำแนกที่สำคัญข้อหนึ่งระหว่างมวยภายในและมวยภายนอก

มวยไทเก็กตระกูลหยาง 85 ท่า

รูปภาพ
ชื่อท่า มวยไทเก็กตระกูลหยาง 85 ท่า อี้เป้ยซื่อ ฉี่ซื่อ หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน ถีโส่วซ่างซื่อ ไป๋เฮ่อเลี่ยงซื่อ จั่วโลวชีอ้าวปู้ โส่วฮุยผีผา จั่วโย่วโลวชีอ้าวปู้ โส่วฮุยผีผา จั่วโลวชีอ้าวปู้ จิ้นปู้ปันหลานฉุย หรูเฟิงซื่อปี้ สือจื้อโส่ว (จบเก็กหนึ่ง) เป้าหู่เกวยซัน โจ๋วตี่คั่นฉุย เต้าเหนี่ยนโหว เสียเฟยซื่อ ถีโส่วซ่างซื่อ ไป๋เฮ่อเลี่ยงซื่อ จั่วโลวชีอ้าวปู้ ไหตี่เจิน ซ่านทงเป้ย เผี่ยเซินฉุย จิ้นปู้ปันหลานฉุย ซ่างปู้หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน หวินโส่ว ตันเปียน เกาทั่นหม่า จั่วโย่วเฟินเจียว จ่วนเซินจั่วเติงเจียว โลวชีอ้าวปู้ จิ้นปู้ไจฉุย ฟันเซินเผี่ยเซินฉุย จิ้นปู้ปันหลันฉุย โย่วเติงเจี่ยว จั่วต๋าหู่ซื่อ โย่วต๋าหู่ซื่อ หุยเซินโย่วเติงเจี่ยว ซวงเฟิงกว้านเอ๋อ จั่วเติงเจี่ยว จ่วนเซินโย่วเติงเจี่ยว จิ้นปู้ปันหลานฉุย หรูเฟิงซื่อปี้ สือจื้อโส่ว (จบเก็กสอง) เป้าหู่เกวยซัน เสียตันเปียน เหยียหม่าเฟินจง หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน อวี้หนี่ชวนซัว หล่านเชี่ยเหว่ย ตันเปียน หวินโส่ว ตันเปียน เซี่ยซื่อ จินจีตู๋ลี่ เต้าเหนี่ยนโหว เสียเฟยซื่อ ถีโ

มวยแข็ง และ มวยอ่อน

รูปภาพ
          หากพูดถึงศิลปะป้องกันตัวของจีน (วูซู)  นอกจากจะแบ่งออกเป็น มวยเหนือ มวยใต้ ตามภูมิภาคที่กำเนิดของมวยนั้นๆแล้ว  ยังแบ่งออกเป็น มวยอ่อนและมวยแข็ง อีกด้วย           หากจะพูดถึงมวยอ่อนและมวยแข็ง  ก็มักจะมีความเกี่ยวข้องกับ 2 สำนัก หนึ่งคือเส้นหลิน สองคือบู๊ตึ๊ง(อู่ตัง)           วิชามวยของบู๊ตึ๊ง  ถูกขนานนามว่าเป็นมวยอ่อนหรือมวยภายใน  ซึ่งจะกล่าวลักษณะของมวยภายในโดยสังเขป  ได้ดังนี้ "กลม"   ท่าทางต้องโค้ง  เป็นวงกลม "ต่อเนื่อง"   การเคลื่อนไหวคาบเกี่ยว  ต่อเนื่อง  ไม่ขาดตอน "ช้า"   ฝึกฝนความชำนาญด้วยความช้าเป็นพื้นฐาน  หายใจเป็นธรรมชาติ "ใน"   ฝึกฝนภายในเป็นหลักใหญ่ ( จิ้ง  ชี่  และเสิน ) "อ่อน"   ใช้ความอ่อนสยบความแข็ง  ยืมพลังก่อพลัง  "สี่ตำลึงปาดพันชั่ง"           วิชามวยของเส้นหลิน  ถูกขนานนามว่ามวยแข็งหรือมวยภายนอก  ซึ่งจะกล่าวลักษณะของมวยภายนอกโดยสังเขป  ได้ดังนี้ "ตรง"   อิริยาบถ การเคลื่อนไหว  เป็นเส้นตรง "ตัด"   แต่ละท่ารุนแรง  ขาดตอน  ไม่ต่อเนื่อง "เร็ว"   ฝึกฝนความชำนา

ฝึกมวยไทเก็ก ควรใส่ใจเรื่องอะไรก่อนเป็นอันดับแรก?

รูปภาพ
การจะฝึกมวยไทเก็กให้ได้ดีนั้น  นอกจากการฝึกฝนรำมวยอย่างสม่ำเสมอ  และต่อเนื่องเป็นเวลานาน(หลายปี)  ยังต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหลักการ  และทฤษฎีของมวยไทเก็ก  เพื่อเติมเต็มระหว่างความรู้และทักษะทางร่างกายเข้าด้วยกัน  ซึมซับหลักการจนสามารถนำมาสู่การปฏิบัติ  เมื่อได้ดังนี้ เราจึงจะสามารถพัฒนาและเพิ่มพูนพลังฝีมือให้ก้าวหน้าขึ้นไปได้ สิ่งสำคัญคือการฝึกฝนท่ามวยในแต่ละท่าให้ถูกต้อง  ค่อยๆ ปรับท่ามวยให้ถูกต้อง  ค้นหาความหมาย  และซึมซับจุดสำคัญของท่ามวยนั้นๆ ตามหลักการที่เหล่าซือได้สอนเอาไว้  ไม่ใช่เพียงเน้นการรำมวยให้จบชุด 85 ท่าไปเท่านั้น  หากไม่คำนึงถึงความถูกต้องของท่ามวยและค้นหาความหมายในแต่ละท่าแล้ว  การรำมวยของเราก็จะไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรจะได้รับ  และจะเป็นเรื่องยากในการพัฒนาพลังฝีมือให้ก้าวหน้าต่อไปอีกด้วย เรามีคำพูดหนึ่งที่ว่า  "ฝึกมวยง่าย  แก้มวยยาก"  หากไม่ระวังและคำนึงในเรื่องนี้  ย่อมเกิดความเคยชินและติดท่าทางที่ไม่ถูกต้องไป  ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการฝึกมวยไทเก็กในเวลาต่อมาได้ การเริ่มต้นฝึกมวยไทเก็ก  จึงควรสนใจท่ามวยก่อนเป็นอันดับแรก  ฝึกฝนท่ามวยแต่ละท่

บัญญัต 10 ประการ มวยไทเก็กตระกูลหยาง

รูปภาพ
หยาง เฉิง ฝู่ ( 杨澄甫 )             บรรยาย เฉิน เว่ย หมิง ( 陈微明 )             บันทึก     1.         ศีรษะตั้งตรงแขวนลอย     “ ซวีหลิงติ่งจิ้ง”   虚灵顶劲 顶劲者, 头容正直, 神 贯于顶也。 不可用力, 用力 则项强, 气血不能流通, 须有虚灵自然之意。 非有虚灵 顶劲, 则精神不能提起也。 พลังส่งผ่านถึงกระหม่อม   อย่าใช้แรง “ลี่”( 力 )   เพราะจะทำให้ลำคอแข็งเกร็ง “ชี่”( 气 ) และ “เลือดลม” จะติดขัด เดินไม่สะดวก   ต้องมีจิต “อี้”( 意 ) สมาธิที่ผ่อนคลาย เพื่อให้เลือดลมเดินได้อย่างธรรมชาติ   หากศีรษะไม่ตั้งตรง จิต สมาธิ จะเกิดขึ้นได้ยาก     2.         เก็บทรวงอกยืดหลัง      “หันชวงป๋าเป้ย”   含胸拔背 含胸者,胸略内涵, 使气沉丹田也。 胸忌挺出, 挺出 则气拥胸际, 上重下 轻, 脚跟易于浮起。 拔背者,气 贴于背也, 能含胸 则自能拔背, 能拔背 则能力由脊发, 所向无 敌也。 “เก็บทรวงอก”   หมายถึง อกผ่อนจม   ทรวงอกงุ้มเข้าเล็กน้อย   ทำให้ “ชี่”( 气 ) จมลงสู่ “ตันเถียน”( 丹田 ) ได้   อย่าให้ทรวงอกแอ่นยืดขึ้นเป็นอันขาด   เพราะจะทำให้ “ชี่”( 气 ) เกาะอยู่ที่ทรวงอก   ร่างกายช่วงบนจะหนักและช่วงล่างจะเบา   ส้นเท้าจะลอยขึ้นได้ง่าย “ยืดหลัง”   หมายถึง   “ชี่”( 气 ) แนบอยู่ที่ด้านหลัง   ถ้าเก็บทรวงอกได้ก