บัญญัต 10 ประการ มวยไทเก็กตระกูลหยาง



หยาง เฉิง ฝู่ (杨澄甫)             บรรยาย
เฉิน เว่ย หมิง (陈微明)            บันทึก


    1.        ศีรษะตั้งตรงแขวนลอย    ซวีหลิงติ่งจิ้ง”  虚灵顶劲
顶劲者, 头容正直, 贯于顶也。
不可用力, 用力则项强, 气血不能流通, 须有虚灵自然之意。
非有虚灵顶劲, 则精神不能提起也。
พลังส่งผ่านถึงกระหม่อม  อย่าใช้แรง “ลี่”()  เพราะจะทำให้ลำคอแข็งเกร็ง “ชี่”() และ “เลือดลม” จะติดขัด เดินไม่สะดวก  ต้องมีจิต “อี้”() สมาธิที่ผ่อนคลาย เพื่อให้เลือดลมเดินได้อย่างธรรมชาติ  หากศีรษะไม่ตั้งตรง จิต สมาธิ จะเกิดขึ้นได้ยาก

    2.        เก็บทรวงอกยืดหลัง    “หันชวงป๋าเป้ย”  含胸拔背
含胸者,胸略内涵, 使气沉丹田也。
胸忌挺出, 挺出则气拥胸际, 上重下轻, 脚跟易于浮起。
拔背者,气贴于背也, 能含胸则自能拔背, 能拔背则能力由脊发, 所向无敌也。
“เก็บทรวงอก”  หมายถึง อกผ่อนจม  ทรวงอกงุ้มเข้าเล็กน้อย  ทำให้ “ชี่”() จมลงสู่ “ตันเถียน”( 丹田) ได้  อย่าให้ทรวงอกแอ่นยืดขึ้นเป็นอันขาด  เพราะจะทำให้ “ชี่”() เกาะอยู่ที่ทรวงอก  ร่างกายช่วงบนจะหนักและช่วงล่างจะเบา  ส้นเท้าจะลอยขึ้นได้ง่าย
“ยืดหลัง”  หมายถึง  “ชี่”() แนบอยู่ที่ด้านหลัง  ถ้าเก็บทรวงอกได้ก็จะยืดหลังได้อย่างเป็นธรรมชาติ  ด้วยทักษะการยืดหลัง  จึงสามารถส่งพลัง “ฟ่าง”() ออกจากกระดูกสันหลังได้  คุณก็จะได้รับชัยชนะเสมอ

    3.        ผ่อนเอว    “ซงเยา”  松腰
为一身之主宰, 能松腰然后两足有力, 盘稳固;
实变化皆由腰转动, 故曰:命意源头在腰际,由不得力必于腰腿求之也。
“เอว” เป็นศูนย์บัญชาการของร่างกาย  เมื่อผ่อนคลายเอว ขาทั้งสองข้างจึงเปี่ยมพลัง  ร่างกายท่อนล่างจึงหนักแน่นมั่นคง
การถ่ายน้ำหนักระหว่าง “เต็ม”() และ “กลวง”() ล้วนมาจากการหมุนเอว  ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า  “ต้นกำเนิดของชีวิตและจิต “อี้”( ) อยู่ที่เอว”  และหากไม่สามารถส่งพลังออกมาได้  ให้เริ่มแก้ที่เอวและขาก่อน

    4.        แบ่งแยกเท้าเต็มเท้ากลวง    “เฟินซวีสือ”  分虚实
太极拳术难如虚实为第一要
如全身皆坐在右腿, 则右腿为实, 左腿为虚;
全身皆坐在左腿, 则左腿为实, 右腿为虚。
实能分, 而后转动轻灵, 毫不费力;
如不能分, 则迈步重滞, 自立不, 而易为人所牵
“แบ่งแยกเท้าเต็มเท้ากลวง”  นับเป็นหลักการที่สำคัญอันดับแรกของ “มวยไทเก็ก”
            หากร่างกายถ่ายน้ำหนักมาอยู่บนขาขวาทั้งหมด  จะเรียกขาขวาว่า “ขาเต็ม”  ขาซ้ายเป็น “ขากลวง”  หากร่างกายถ่ายน้ำหนักมาอยู่บนขาซ้ายทั้งหมด  จะเรียกขาซ้ายว่า “ขาเต็ม”  ขาขวาเป็น “ขากลวง”
            เมื่อแบ่งแยกเท้าเต็มเท้ากลวง  การเคลื่อนตัวจึงคล่องแคล้วแผ่วเบา  ไม่ต้องใช้แรงเลยแม้แต่น้อย  หากปราศจากการแบ่งแยกเท้าเต็มเท้ากลวง  เวลาก้าวเท้าจะหนักและติดขัด  ท่าทางการเคลื่อนไหว หมุนตัวจะไม่มั่นคง  และถูกฉุดล้มได้ง่าย

    5.        จมไหล่ถ่วงศอก    “เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว”  沉肩坠肘 
沉肩者, 肩松开下垂也。
若不能松垂, 两肩端起, 则气亦随之而上, 全身皆不得力矣。
坠肘者, 肘往下松垂之意,
肘若悬起, 则肩不能沉, 放人不远, 近于外家之断劲矣 
“จมไหล่”  หมายถึง  การผ่อนคลายปล่อยให้หัวไหล่ ลู่จมดิ่งลง  หากไม่ปล่อยหัวไหล่ให้ลู่จมดิ่งลง  และยกไหล่ขึ้น “ชี่”() จะลอยตามขึ้นมา  ร่างกายจะปราศจากพลัง
“ถ่วงศอก”  หมายถึง  ศอกและแขวน โน้มถ่วงลง  หากศอกมีการติดขัดและยกขึ้น  ไหล่จะผ่อนจมลงไม่ได้  ทำให้ไม่สามารถโยน “ฟ่าง”() คู่ต่อสู้ออกได้ไกล  แรงจะขาดตอนแบบมวยภายนอก

    6.        ใช้จิตไม่ใช้แรง    “ย่งอี้ปู้ย่งลี่”  用意不用力
太极拳论云:此全是用意不用力
练太极拳全身松开
不便有分毫之拙劲, 以留滞于筋骨血脉之间以自缚束, 然后能轻灵变化, 圆转自如
或疑不用力何以能长力? 盖人身之有经络, 如地之有沟壑,
沟壑不塞而本行, 经络不闭则气通。
浑身僵劲满经络, 气血停滞, 转动不灵, 牵一发而全身动矣
若不用力而用意, 意之所至, 气即至焉
如是气血流注, 日日贯输, 周流全身, 时停滞。
久久练习, 则得真正内
即太极拳论中所云:极柔软,然后极坚刚也。
太极拳功夫纯熟之人, 臂膊如绵裹铁, 分量极沉;
练外家拳者, 用力则显有力, 不用力时, 則甚輕浮。 见其力乃外劲浮面之劲也。
不用意而用力, 最易引动, 不足尚也。
ตำรามวยไทเก็กกล่าวไว้ว่า  “การฝึกมวยไทเก็กที่ถูกต้อง จะต้องใช้จิตไม่ใช้แรง”
“เวลาฝึกมวยไทเก็ก ทั้งร่างกายต้องผ่อนคลาย”
ห้ามใช้แรงงุ่มง่าม “จัวจิ้ง”(拙劲)  เพราะจะเป็นการผูกมัดกระดูก เส้นเอ็น เส้นเลือด ทั้งหลายเข้าด้วยกัน  ทำให้เกิดการติดขัด
หากผ่อนคลายร่างกาย  จะเกิดความคล่องแคล่วแผ่วเบา “ชิงหลิง”( 轻灵)  และแปรเปลี่ยน “เปี้ยนฮั่ว”( 变化)  หมุนวนได้อย่างราบรื่น
ต่อคำถามที่ว่า  หากไม่ใช้แรง “ลี่”()  แล้วจะเอาแรง “ลี่”() มาจากที่ใด?  ในร่างกายของคนเรานั้น  มีโครงข่ายช่องว่าง “จิงลั่ว”( 经络) (ทางเดินของ ”ชี่”) อยู่มากมาย  เปรียบดั่งโลกเราที่มีร่องน้ำ และลำคลอง
หากร่องน้ำและลำคลองไม่ตื้นเขิน  น้ำก็จะสามารถไหลได้คล่องสะดวก  เช่นเดียวกับร่างกายคน  หากร่างกายผ่อนคลาย  โครงข่ายช่องว่าง“จิงลั่ว”( 经络) ในร่างกายไม่ติดขัด  “ชี่”() ก็จะสามารถไหลเวียนได้คล่อง
แต่หากทั่วร่างกายแข็งเกร็ง โครงข่ายช่องว่าง“จิงลั่ว”( 经络) จะเกิดการติดขัด “ชี่”() ก็จะติดขัด ไม่สามารถสามารถไหลเวียนได้
การเคลื่อนหมุนตัว จะไม่คล่องแคล่ว  ร่างกายก็จะถูกคู่ต่อสู้ชักจูง “เชียน”( ) ได้โดยง่าย ด้วยการส่งแรง “ฟา”( ) เพียงนิดเดียว
การไม่ใช้แรง “ลี่”() แต่ใช้จิต “อี้”( ) เมื่อจิตไปถึงที่ ชี่ก็ตามไปถึงที่เช่นกัน  การไม่ใช้แรงแต่ใช้จิตนี้เอง  ที่ทำให้เลือดลมหมุนเวียนต่อเนื่องทั่วร่างกาย  ไม่มีการติดขัด  หากฝึกฝนเป็นเวลานานพลังภายในกายก็จะเพิ่มพูนขึ้น
ตำรามวยไทเก็กระบุในส่วนนี้ไว้ว่า “อ่อนนุ่มสุดขีด แปรเปลี่ยนเป็นแข็งแกร่งสุดขีด”(极柔软,然后极坚刚)  ผู้ที่ฝึกฝนมวยไทเก็กจนชำนาญ  จะมีแขนเปรียบเหมือนดั่ง “สำลีหุ้มเหล็ก” หนักแน่นและจม “เฉิน”( )
ต่างจากการฝึกมวยภายนอก เวลาใช้แรง “ลี่”()  จะเปี่ยมพลัง  แต่เมื่อไม่ใช้แรง “ลี่”()  จะเห็นได้ชัดว่าเบาและลอยไม่มั่นคง “ชิงฝู”( 輕浮)  แสดงให้เห็นว่าเป็นแรงที่พื้นผิวภายนอกเท่านั้น  การใช้แรง “ลี่”() แต่ไม่ใช้จิต “อี้”( )  จะถูกชักนำทำลายได้โดยง่าย  จึงไม่ใช่พลังอันสูงสุด

    7.        บนล่างประสานกัน    “ส้างเซี่ยเซียงสุ่ย”  上下相随
上下相随者, 即太极拳论中所云: 其根在脚,发于腿, 主宰于腰,形于手指, 由脚而腿而腰, 总须完整一气也。
动、腰动、足动、 眼神亦随之动, 如是方可谓之上币相随
有一不动, 即散乱也。
“บนล่างประสานกัน”  หมายถึง  ในตำรามวยไทเก็กกล่าวไว้ว่า  “รากอยู่ที่เท้า ส่งพลัง “ฟา”( ) จากที่ขา  ควบคุมจากที่เอว  และแสดงออกที่นิ้วมือ  และจากเท้าถึงขา จากขาถึงเอว ต้องต่อเนื่องสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว”( 其根在脚,发于腿,主宰于腰,形于手手指, 由脚而腿而腰, 总须完整一气也)
เมื่อมือเคลื่อนไหว เอวเคลื่อนไหว และขาเคลื่อนไหว  สายตาก็ต้องเคลื่อนไหวตามไปด้วย  จึงเรียกว่าสอดคล้องประสาน  แต่หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งหยุดนิ่ง  ไม่เคลื่อนไหวไปด้วยกัน  เรียกว่า  สับสนกระจัดกระจาย

    8.        ในนอกรวมเป็นหนึ่ง    “เน่ยไว่เซียงเหอ”  内外相合
太极拳所练在神, 故云:为主帅,身为驱使
精神能提得起, 自然举动轻灵。
架子不外虚实开合
谓开者, 不但手足开, 心意亦与之俱开,
谓合者, 不但手足合, 心意与之俱合,
能内外合为一气, 则浑然无间矣。
การฝึกมวยไทเก็ก คือการฝึกจิต “เสิน”( )  โดยมีคำกล่าวว่า “จิต “เสิน”( ) เป็นแม่ทัพ ร่างกายรับคำสั่ง”  เป็นเช่นนี้จึงมีความกระฉับกระเฉง “จิ้งเสิน”( 精神)  การเคลื่อนไหวก็จะเบาคล่อง  การเคลื่อนไหวทั้งหมดหนีไม่พ้น เต็มและกลวง  แยกออก “ไค”( ) และรวบเข้า “เหอ”( )
ที่เรียกว่า แยกออก “ไค”( ) ไม่ใช่แค่มือเท้าที่แยกออก  จิต “ซินอี้”( 心意) จะต้องแยกออก “ไค”( ) ไปด้วย  ส่วนที่เรียกว่า รวบเข้า “เหอ”( ) จิต “ซินอี้”( 心意) จะต้องรวบเข้า “เหอ”( ) มาด้วย  หากสามารถทำให้ “ในนอกรวมเป็นหนึ่ง” จะไม่มีช่องว่างแม้เพียงน้อยนิด

    9.        ต่อเนื่องไม่ขาดตอน    “เซียงเหลียนปู๋ต้วน”  相连不断
外家拳术, 劲乃后天之拙劲, 故有起有止, 线有断,
旧力已尽, 新力未生, 时最易为人所乘,
太极拳用意不用力, 自始至终, 连绵不断, 周而复始, 环无穷。
论所谓;长江大河,滔滔不绝 又曰:劲如抽丝
皆言其贯串一气也
ศิลปะมวยภายนอก  จะใช้แรงที่มาจาก แรงงุ่มง่าม “จัวจิ้ง”(拙劲)  แรงนั้นจึง มีเริ่มมีสิ้นสุด มีต่อมีขาด  เมื่อแรง “ลี่”() เก่าจบลง แรง “ลี่”() ใหม่ยังไม่เกิด  จังหวะนี้จะถูกฉวยโอกาส (โดยคู่ต่อสู้) ได้ง่าย
มวยไทเก็ก  ใช้จิต “อี้”() ไม่ใช้แรง “ลี่”()  จากจุดเริ่มถึงสิ้นสุด  ต่อเนื่องไม่ขาดตอน  เมื่อครบรอบยังดำเนินต่อ หมุนวนไม่สิ้นสุด
ดังที่เคล็ดวิชาดั้งเดิม กล่าวไว้ว่า “ดั่งฉางเจียง (แยงซี) มหานที, คลื่นแรงกระหน่ำไม่เคยหยุด”(长江大河,滔滔不绝)  ยังกล่าวอีกว่า “ในขณะใช้พลัง ต้องเหมือนการสาวเส้นไหม”( 运劲如抽丝)  เคล็ดเหล่านี้ หมายถึง ชี่ที่ต่อเนื่องตลอดเวลาไม่ขาดตอน

    10.   แสวงหาความสงบในการเคลื่อนไหว    “ต้งจงฉิวจิ้ง”  动中求
外家拳术, 以跳掷为能, 用尽气力, 练习之后, 无不喘气者,
太极拳以静御动, 虽动犹静, 练架子愈慢愈好
使则呼吸深长, 气沉丹田, 自无血脉愤张之弊
学者细心体会, 庶可得其意焉。
มวยภายนอกใช้การกระโดดและกระโจนเป็นพลัง ใช้กำลัง “ชี่ลี่”( 气力) สุดแรง  ดังนั้นเมื่อฝึกเสร็จจึงมีอาการหอบ “ฉ่วนชี่”( 喘气)  ส่วนมวยไทเก็ก ใช้ความสงบ “จิ้ง”( ) รับมือการเคลื่อนไหว “ต้ง”( )
แม้เคลื่อนไหว “ต้ง”( ) เหมือนสงบ “จิ้ง”( )  ดังนั้นขณะฝึกฝน ท่วงท่ายิ่งช้ายิ่งดี  ทำให้สามารถหายใจได้ลึกและยาว  ชี่จมตันเถียน  ปราศจากการพองตัวของเส้นเลือดและเส้นเอ็น  ผู้ฝึกฝนหากตั้งใจสังเกต  จะค้นพบเคล็ดเหล่านี้ได้โดยตรง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มวยไทเก็กตระกูลหยาง 85 ท่า

มวยแข็ง และ มวยอ่อน